มาสุราษฏร์ที่เดียว….เหมือนได้เที่ยวทั่วไทย

ดังนั้นเมื่อถามว่า พูดถึงจังหวัดสุราษฏร์ธานีจะคิดถึงอะไร หลายคนคงตอบว่า นึกถึงทะเลสวยๆ อย่างเกาะสมุย เกาะเต่า เกาะนางยวน  หรือไม่ก็นึกถึงของกินขึ้นชื่ออย่างไข่เค็มไชยา หอยนางรม เงาะโรงเรียน หรือไม่ก็อาจจะนึกถึงศิลปวัฒนธรรมของคนใต้ อย่างหนังใหญ่ หนังตะลุง หรือโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองอย่าง พระบรมธาตไชยา แต่การมาเที่ยวสุราษฏร์ธานีในครั้งนี้ให้ความรู้สึกที่แปลกกว่าทุกครั้ง และอาจทำให้เผลอตอบในสิ่งที่หลายคนนึกไม่ถึง  เช่น ไปสุราษฏร์แล้วนึกถึงแคปหมูน้ำพริกหนุ่ม  นึกถึงการแสดงโปงลาง นึกถึงการแสดงโขน หรือหุ่นละครเล็ก โจ-หลุยส์ เป็นต้น  

เที่ยวไทย ๕ ภาค @ สุราษฎร์ธานี จัดยิ่งใหญ่….ยกเมืองไทยมาให้กอดฟรีๆ

วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓  ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดตัวโครงการ เทศกาลเที่ยวไทย ๕ ภาค @ สุราษฎร์ธานี อันเป็นโครงการสืบเนื่องมาจากโครงการ  “กอดเมืองไทยให้หายเหนื่อย” โดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกในเรื่องความโดดเด่นและแตกต่างของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมจากทุกภูมิภาคทั่วไทยทั้ง ๕  ภาคท่องเที่ยว นั่นก็คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้คนไทยเที่ยวเมืองไทย สำหรับในปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้หมุนเวียนจัดงาน “เทศกาลเที่ยวไทย ๕  ภาค” ในเมืองศูนย์กลางท่องเที่ยวทั้งหมด ๓ จังหวัดด้วยกัน นั่นคือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี

Open “Rattanakosin Exhibition Hall,” a Brand New Tourist Attraction and Learning Center Ready for Public March 9, 2010

the official opening ceremony of Rattanakosin Exhibition Hall, Bangkok’s brand new tourist attraction on Ratchadamnoen Road, as well as a pillar of edutainment and knowledge where an extensive range of historical accounts and academic information on arts and culture of Thailand’s Rattanakosin era are compiled and maintained. Rattanakosin Exhibition Hall, has organized the official opening ceremony of this brand new manmade marvel of Bangkok at Mahajesadabodintr Pavillion Court, which lies next to the Exhibition Hall itself, all of which flawlessly reenacted the fondest memories of the inauguration of Krung Rattanakosin and all the good times in it forever and a day.

เปิด “อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์” ให้บริการประชาชน ๙ มีนาคมเป็นต้นไป

“อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์” เป็นอาคารแห่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่เรียกว่าบันเทิงศึกษา เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมของยุคกรุงรัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานครบนถนนราชดำเนินกลางอีกด้วย  โดยพิธีเปิดอย่างเป็นทางการนั้น จัดขึ้น ณ บริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งอยู่ติดกับอาคารดังกล่าว เป็นการจำลองบรรยากาศเสมือนหนึ่งอยู่ในงานสมโภชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งในอดีต

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ อาคารแห่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด ในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านการออกแบบ บูรณะ และบริหารงาน ได้เปิดอาคารแห่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของยุคกรุงรัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่บนถนนราชดำเนินอีกด้วย ในชื่อ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ พร้อมให้บริการประชาชนทั่วไป และชาวต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป

สองร้อยกว่าปี ใน 1 วัน นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

กรุงรัตนโกสินทร์ คือนามของราชธานีของไทยที่เรียกขานกันมาตั้งแต่เริ่มแรกสถาปนาในพุทธศักราช ๒๓๒๕  ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงมาเป็น “กรุงเทพมหานคร” ในปัจจุบัน และ ”รัตนโกสินทร์” ยังเป็นนามของยุคสมัย ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี จวบจนปัจจุบันนี้ยุครัตนโกสินทร์อันเป็นยุคที่มีการสืบทอดพัฒนาและผสมผสานด้านศิลปวัฒนธรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนตกผลึกเป็นยุคสมัยที่มีสีสันหลากหลาย งดงามทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์ ดุจอัญมณีหลากสีที่ผ่านการเจียระไนจนพราวแสง เปล่งประกายคุณค่าในหลายมุมมอง  

ประวัตินิทรรศน์รัตนโกสินทร์

อาคารบริเวณถนนราชดำเนินกลาง เป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส

1 6 7
Message us