ประเด็นสารเคมีในไทย กระทบอุตสาหกรรมอ้อย คาดโรงงานน้ำตาลปิดตัว

การเพาะปลูกอ้อยของไทย มีพื้นที่รวมกว่า 11 ล้านไร่ สร้างรายได้สูงเกือบ 3 แสนล้านบาทต่อปี หากมีการยกเลิกใช้สารพาราควอต คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 60,000 ล้านบาท เนื่องจาก เกษตรกรชาวไร่อ้อยไม่สามารถผลิตอ้อยส่งได้ตามเป้าหมาย กระทบเป็นห่วงโซ่ในสายการผลิต ส่งผลถึงโรงงานน้ำตาล ขาดวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กระทบต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายดิบ สุดท้าย ผลเลวร้ายที่สุด อาจเกิดการปิดตัวของโรงงานน้ำตาล ผลจากเหตุขาดทุนได้  

สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย

ดร. กิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “ประเทศไทย ผลิตอ้อยเป็นอันดับ 4 ของโลก ส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก นิคมอุตสาหกรรมซีโรว์เวสโปรดัก (Zero Waste Product) มีเพียงแห่งเดียวในโลกคือ ประเทศไทย และโรงงานผลิตอ้อยที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ ประเทศไทยเช่นกัน ในแต่ละวัน ผลิตอ้อยวันละ 1 ล้านตัน เท่ากับว่า กำลังตัดอ้อยที่ 100,000 ไร่ต่อวัน สมมติ 1 ตัน ใช้คนตัดอ้อย 1 คน ต้องใช้เกษตรกรนับล้านคนในการตัดอ้อย หากไม่มีเครื่องจักร ขณะเดียวกัน การดูแลรักษาอ้อย 100,000 ไร่ เพื่อไม่ให้วัชพืชขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ยากเช่นกัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะหาคนมาถางหญ้า การใช้ปัจจัยการผลิต หรือ สารเคมี พาราควอต จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด”  

ปัญหาสำคัญ คือ การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของบุคลากรภาคเกษตรทุกราย ที่จะต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร มีเครื่องมือการเกษตรปลอดภัยมาตรฐาน GAP แล้ว ควรกำหนดกรอบและมาตรฐานการใช้สารเคมีผ่านมาตรฐาน GAP นี้ เพราะมาตรฐานไม่ได้กำหนดว่า ห้ามใช้สารเคมี แต่จะบอกวิธีการใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง  

“กระทรวงเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณามาตรการใช้สารเคมี อยากให้ไตร่ตรองให้รอบคอบ ขอให้เกษตรกร คนจน มีทางเลือกหรือทางออก สำหรับข้อเสนอแนะที่จะให้ปลูกพืชระหว่างร่องอ้อย เป็นไปไม่ได้ เกษตรกรไม่ได้ปลูกเพียงไม่กี่ไร่ แต่ปลูกเป็นร้อยไร่ แสนไร่ ส่วนการหาสารทดแทน ข้อให้มีความเหมาะสมทั้งในแง่คุณสมบัติ ราคา และประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชด้วย” ดร. กิตติ กล่าวสรุป

Message us