Farmers thank PM for understanding the “agricultural way”

The Khon Rak Mae Klong Volunteer Network submitted a thank-you letter to Prime Minister Prayut Chan-o-cha through the Hazardous Substances Advisory Committee for his decision to instruct the panel to carefully examine the plan on restricting the use of three chemical substances. The network is cooperating with state agencies to implement its “Ratchaburi Model” project, proving the substances are not dangerous for vegetable plantations.

กลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ขอบคุณ นายกฯ ประยุทธ์ เข้าใจวิถีเกษตร พร้อมประสานภาครัฐเปิด ราชบุรีโมเดล พิสูจน์ปลูกผักใช้สารเคมีไม่อันตราย

เครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง และกลุ่มเกษตรปลูกผัก ยื่นหนังสือขอบคุณ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านคณะกรรมการวัตถุอันตราย ในการพิจารณาอย่างรอบคอบ ที่จำกัดการใช้ 3 สารเคมี พร้อมประสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ เปิด “ราชบุรีโมเดล” พิสูจน์การปลูกผักใช้สารเคมีไม่อันตราย 

ไปคุยกับราชบัณฑิตอายุ 90

“อะไรกันนักกันหนากับพาราควอต” หมอสมชัย* บวรกิตติ บ่นพึมพำเมื่อไปบอกเล่าข่าวโหมพาราควอตในระยะนี้ ว่าเขาจะห้ามนำพาราควอตเข้าประเทศอีกแล้ว เขาจะไม่ให้เกษตรกรใช้พาราควอตกำจัดวัชพืช และจะห้ามใช้สารเคมีอีกหลายตัวที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ คุณหมอบอกว่าเห็นได้ชัดว่าเป็นการดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลซ้ำ ๆ ที่ไม่มีความรู้จริงเรื่องสารเหล่านี้ และโดยคนอีกกลุ่มที่ไม่หางานทำที่เป็นสาระประโยชน์ 

หมอพืช ซินเจนทา หนุนเกษตรยั่งยืน 3 ปี 50 ล้านไร่

ซินเจนทา เดินหน้านโยบายธุรกิจยั่งยืน อบรมเกษตรกรใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตั้งเป้า 3 ปี 50 ล้านไร่ทั่วไทย

เกษตรกร 30,000 ราย ปลื้ม นายกฯ ประยุทธ์ เข้าใจวิถีเกษตร พร้อมเสนอแนวทางจำกัดการใช้ 3 สารเคมี ต่อยอดแนวคิดเกษตรปลอดภัย

สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และสมาคมเกษตรปลอดภัย ผู้แทนเกษตรกร 30,000 ราย ยื่นหนังสือขอบคุณ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และกรมวิชาการเกษตร ในการพิจารณาอย่างรอบคอบ ที่มีมติไม่ยกเลิกใช้สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอส พร้อมนำเสนอ มาตรการจำกัดการใช้ฉบับเกษตรกร เพื่อนำเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำไปปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมได้จริงในประเทศไทย

4 ประสาน เสนอทางออก 4 มาตรการ “จำกัดการใช้” พาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต

ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาชน ร่วมระดมความคิดเห็นเสนอแนวทางมาตรการจำกัดการใช้สารพาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต เตรียมยื่นข้อสรุป 4 มาตรการแนวทางปฏิบัติให้กรมวิชาการเกษตร นำไปจัดทำร่างแผนมาตรการควบคุมสารทั้งสามชนิด เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาในลำดับต่อไป

ซินเจนทา ร่วมจัดงานประชุมนานาชาติ ASIATOX สมาคมพิษวิทยาแห่งเอเชียครั้งที่ 8

สำหรับประเทศไทย สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมผลวิจัยและการศึกษาล่าสุดด้านพิษวิทยามาเผยแพร่ แลกเปลี่ยน ประสานงานกับองค์กรในระดับประเทศและสากล เพื่อส่งเสริมให้มีมาตรฐานความปลอดภัยจากสารพิษ และความเป็นพิษ และในปีนี้ พ.ศ. 2561 สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุมนานาชาติสมาคมพิษวิทยาแห่งเอเชียครั้งที่ 8 (เอเชียท็อกซ์ 2018) หรือ The 8th International Congress of Asian Society of Toxicology (ASIATOX 2018) ภายใต้การสนับสนุนและความร่วมมือจากบริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา 

ซินเจนทา เชิดชูชาวนา ร่วมพัฒนาข้าวไทย จัดงาน Rice Expo ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตชาวนาไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ปริมาณการส่งออกมีจำนวนและมูลค่าลดลง เนื่องจากกลุ่มคู่แข่ง โดยเฉพาะอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา ที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ซินเจนทา บริษัทผู้นำด้านธุรกิจการเกษตรระดับโลก มุ่งมั่นจัดงานนิทรรศการนวัตกรรมและเทคโนโลยีข้าว หรือ Rice Expo ขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 เพื่อพัฒนาความรู้และเสริมทักษะด้านการเพาะปลูก เพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรมให้แก่กลุ่มเกษตรกร “ชาวนา” ของไทย ให้สามารถผลิตและพัฒนาข้าวไทยให้ดีและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น 

เกษตรกรราชบุรีเดือด จวกเอ็นจีโอบิดเบือนข้อมูลพาราควอต

เกษตรกรราชบุรีกว่า 50 คน รวมตัวประณามเอ็นจีโอให้ข้อมูลเท็จกรณีสารพาราควอตตกค้างในพืชผลเกษตร พร้อมท้าชนหลักฐานทั้ง 2 ฝ่ายยันกัน ประกาศจุดยืนเกษตรกรต้องการใช้“พาราควอต” ในการปลูกพืชผักผลไม้ หากรัฐไม่สามารถหาสารเคมีอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าได้ นัดรวมตัวฟังผลแบน-ไม่แบน วันที่ 23 พฤษภาคมนี้

เกษตรกรมันสำปะหลังเดือดร้อนหนัก ต้นทุนพุ่ง แจงรัฐช่วยด่วน

กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบความเดือดร้อนอย่างหนัก ผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น หากไม่ให้ใช้สารพาราควอตเพื่อกำจัดวัชพืช รวมตัวชี้แจงรายละเอียด พาราควอตจำเป็นต่อการเกษตร และกลุ่มนักวิชาการและแพทย์ชี้ข้อเท็จจริงแล้วว่า พาราควอต ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคและอาการต่าง ๆ รวมถึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ภาคอุตสาหกรรมเกษตร วอนรัฐเห็นใจเกษตรกร หากเลิกใช้พาราควอต สูญกว่าแสนล้านบาทต่อปี

สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ร่วมกับ กลุ่มรวบรวมข้าวโพดหวานแห่งประเทศไทย กลุ่มโรงงานน้ำตาลลุ่มน้ำแม่กลอง สมาคมส่งเสริมธุรกิจพืชอาหารสัตว์ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้เชี่ยวชาญด้านปาล์มน้ำมัน จัดเสวนา วิเคราะห์เศรษฐกิจเกษตร หากไร้พาราควอตพบว่า เกิดความเสียหายขึ้นทันทีหากยกเลิกใช้ สารพาราควอต มูลค่าสูงกว่าแสนล้านบาท เพราะพาราควอตเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นยางพาราในพื้นที่ 25 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 ล้านไร่ ข้าวโพดหวาน 7 แสนไร่ อ้อย 11 ล้านไร่ มันสำปะหลัง 8 ล้านไร่ และปาล์มน้ำมัน 5 ล้านไร่ 

กลุ่มนักวิชาการและแพทย์ ชี้ข้อเท็จจริงว่า พาราควอต จำเป็นต่อการเกษตร

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สันทัด โรจนสุนทร ประธานกรรมการ มูลนิธิวิทยาศาสตร์การเกษตร นำกลุ่มนักวิชาการและแพทย์ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สมชัย บวรกิตติ พันเอก นายแพทย์ สุรจิต สุนทรธรรม ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์ และศาสตราจารย์ ดร. รังสิต สุวรรณมรรคา จัดเสวนา “สนทนาพาราควอต” ขึ้น เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง หวังสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสารกำจัดวัชพืช พาราควอต ซึ่งยังคงจำเป็นในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติ อาหารไทยสู่ครัวโลก

1 7 8 9 12
Message us