พี่รักสุขภาพประชาชนจริงหรือ?
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องตื่นรู้ และเข้าใจเกษตรกร กับสารพาราควอต และไกลโฟเซต
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องตื่นรู้ และเข้าใจเกษตรกร กับสารพาราควอต และไกลโฟเซต
ดราม่าเรื่องพาราควอต กลุ่มแบนพาราควอตทั้งสายสาธารณสุขและเอ็นจีโอ เผยแพร่ข้อมูลว่ามีการตรวจพบพืชผักปนเปื้อนพาราควอตจำนวนมาก เจ้าของงานวิจัยตัวจริง ออกมาชี้แจง ผลตรวจไม่ได้มีอะไรแบบนั้น ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ค อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ของ ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชมได้ที่ http://bit.ly/2IFJGBD
พาราควอตเป็นพิษ กัญชาเป็นพิษ ยาพาราเซตามอลเป็นพิษ น้ำเปล่าเป็นพิษ หากรับเข้าร่างกายเป็นปริมาณมากเกินไป จะเปลี่ยนสรรพคุณจากคุณเป็นโทษ ดังนั้น อันตรายจึงเกิดจากการทำงานกับสารเคมีเหล่านี้ แล้วรับเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ อย่างไร สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ จึงขอนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ พาราควอต โดยศาสตราจารย์ ดร. รังสิต สุวรรณมรรคา ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคมไทย
ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาชน ร่วมระดมความคิดเห็นเสนอแนวทางมาตรการจำกัดการใช้สารพาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต เตรียมยื่นข้อสรุป 4 มาตรการแนวทางปฏิบัติให้กรมวิชาการเกษตร นำไปจัดทำร่างแผนมาตรการควบคุมสารทั้งสามชนิด เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาในลำดับต่อไป
สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ร่วมกับ กลุ่มรวบรวมข้าวโพดหวานแห่งประเทศไทย กลุ่มโรงงานน้ำตาลลุ่มน้ำแม่กลอง สมาคมส่งเสริมธุรกิจพืชอาหารสัตว์ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้เชี่ยวชาญด้านปาล์มน้ำมัน จัดเสวนา วิเคราะห์เศรษฐกิจเกษตร หากไร้พาราควอตพบว่า เกิดความเสียหายขึ้นทันทีหากยกเลิกใช้ สารพาราควอต มูลค่าสูงกว่าแสนล้านบาท เพราะพาราควอตเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นยางพาราในพื้นที่ 25 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 ล้านไร่ ข้าวโพดหวาน 7 แสนไร่ อ้อย 11 ล้านไร่ มันสำปะหลัง 8 ล้านไร่ และปาล์มน้ำมัน 5 ล้านไร่
สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง สภาหอการค้าไทย สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และอดีตที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย จัดเสวนา ทางออกของประเทศไทย ความปลอดภัยทางการเกษตร หลังจากบางหน่วยงานนำเสนอข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ขาดข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ สร้างความตื่นตระหนกและไม่มั่นใจในการบริโภค รวมถึงกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยกว่า 10 ล้านราย ราคาสินค้าตกต่ำ ขายไม่ได้ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ลุกลามไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและแปรรูปทั้งกลุ่มอาหารคนและสัตว์ จนถึงภาคการส่งออกของประเทศ หวั่นสูญรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท