พี่รักสุขภาพประชาชนจริงหรือ?
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องตื่นรู้ และเข้าใจเกษตรกร กับสารพาราควอต และไกลโฟเซต
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องตื่นรู้ และเข้าใจเกษตรกร กับสารพาราควอต และไกลโฟเซต
ดราม่าเรื่องพาราควอต กลุ่มแบนพาราควอตทั้งสายสาธารณสุขและเอ็นจีโอ เผยแพร่ข้อมูลว่ามีการตรวจพบพืชผักปนเปื้อนพาราควอตจำนวนมาก เจ้าของงานวิจัยตัวจริง ออกมาชี้แจง ผลตรวจไม่ได้มีอะไรแบบนั้น ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ค อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ของ ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชมได้ที่ http://bit.ly/2IFJGBD
ปัญหาใหญ่บนโลกออนไลน์ เต็มไปด้วย Fake News เตือนผู้บริโภคเสพสื่ออย่างมีสติ รู้เท่าทัน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยว กับสารเคมีกำจัดวัชพืช พาราควอต สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศาสตราจารย์ รังสิต สุวรรณมรรคา ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล พาราควอต พร้อมเผยข้อเท็จจริงประเด็น สารทดแทนพารา ควอตนั้น มีหรือไม่
พาราควอตเป็นพิษ กัญชาเป็นพิษ ยาพาราเซตามอลเป็นพิษ น้ำเปล่าเป็นพิษ หากรับเข้าร่างกายเป็นปริมาณมากเกินไป จะเปลี่ยนสรรพคุณจากคุณเป็นโทษ ดังนั้น อันตรายจึงเกิดจากการทำงานกับสารเคมีเหล่านี้ แล้วรับเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ อย่างไร สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ จึงขอนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ พาราควอต โดยศาสตราจารย์ ดร. รังสิต สุวรรณมรรคา ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคมไทย
“อะไรกันนักกันหนากับพาราควอต” หมอสมชัย* บวรกิตติ บ่นพึมพำเมื่อไปบอกเล่าข่าวโหมพาราควอตในระยะนี้ ว่าเขาจะห้ามนำพาราควอตเข้าประเทศอีกแล้ว เขาจะไม่ให้เกษตรกรใช้พาราควอตกำจัดวัชพืช และจะห้ามใช้สารเคมีอีกหลายตัวที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ คุณหมอบอกว่าเห็นได้ชัดว่าเป็นการดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลซ้ำ ๆ ที่ไม่มีความรู้จริงเรื่องสารเหล่านี้ และโดยคนอีกกลุ่มที่ไม่หางานทำที่เป็นสาระประโยชน์
ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาชน ร่วมระดมความคิดเห็นเสนอแนวทางมาตรการจำกัดการใช้สารพาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต เตรียมยื่นข้อสรุป 4 มาตรการแนวทางปฏิบัติให้กรมวิชาการเกษตร นำไปจัดทำร่างแผนมาตรการควบคุมสารทั้งสามชนิด เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาในลำดับต่อไป
สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ร่วมกับ กลุ่มรวบรวมข้าวโพดหวานแห่งประเทศไทย กลุ่มโรงงานน้ำตาลลุ่มน้ำแม่กลอง สมาคมส่งเสริมธุรกิจพืชอาหารสัตว์ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้เชี่ยวชาญด้านปาล์มน้ำมัน จัดเสวนา วิเคราะห์เศรษฐกิจเกษตร หากไร้พาราควอตพบว่า เกิดความเสียหายขึ้นทันทีหากยกเลิกใช้ สารพาราควอต มูลค่าสูงกว่าแสนล้านบาท เพราะพาราควอตเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นยางพาราในพื้นที่ 25 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 ล้านไร่ ข้าวโพดหวาน 7 แสนไร่ อ้อย 11 ล้านไร่ มันสำปะหลัง 8 ล้านไร่ และปาล์มน้ำมัน 5 ล้านไร่
สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง สภาหอการค้าไทย สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และอดีตที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย จัดเสวนา ทางออกของประเทศไทย ความปลอดภัยทางการเกษตร หลังจากบางหน่วยงานนำเสนอข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ขาดข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ สร้างความตื่นตระหนกและไม่มั่นใจในการบริโภค รวมถึงกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยกว่า 10 ล้านราย ราคาสินค้าตกต่ำ ขายไม่ได้ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ลุกลามไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและแปรรูปทั้งกลุ่มอาหารคนและสัตว์ จนถึงภาคการส่งออกของประเทศ หวั่นสูญรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท